analyticstracking
หัวข้อ   “ ประเมินผลงานด้านเศรษฐกิจของรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ (ครบ 1 ปี 6 เดือน)
ครบ 1 ปี 6 เดือนรัฐบาล นักเศรษฐศาสตร์พอใจผลงานด้านเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น (ได้ 5.60 จากเต็ม 10)
ประเมินรายคนพบ ผู้ว่า ธปท. ได้สูงสุด 6.70 คะแนน นายกฯ พล.อ. ประยุทธ์ คะแนนลดลงได้ 6.21 คะแนน
รองนายกฯ สมคิด ได้ 6.51 คะแนน ส่วน รมว.ท่องเที่ยว กอบกาญจน์ ได้ 6.52 คะแนน
มีสอบตก 2 คนคือ รมว.เกษตร พล.อ. ฉัตรชัย ได้น้อยสุด 4.57 คะแนน และ
รมว.แรงงาน พล.อ. ศิริชัย ได้ 4.95 คะแนน
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                  ด้วยรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้ปฏิบัติงานครบ
1 ปี 6 เดือน กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ร่วมกับคณะเศรษฐศาสตร์
จึงได้ดำเนินการสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์จากองค์กรชั้นนำ 29 แห่ง จำนวน 60 คน
เรื่อง “ประเมินผลงานด้านเศรษฐกิจของรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ (ครบ 1 ปี
6 เดือน)”
โดยเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 3 – 10 มีนาคม 2559 ที่ผ่านมา พบว่า
 
                  นักเศรษฐศาสตร์ประเมินผลงานการบริหารเศรษฐกิจในภาพรวมของรัฐบาล
พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชาโดยให้คะแนน 5.60 คะแนน (จากเต็ม 10) เพิ่มขึ้นจาก
การสำรวจครั้งก่อนที่ได้ 5.32 คะแนน
โดยการประเมินครั้งนี้ รัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์
ได้คะแนนมากที่สุดในด้านการบริหารจัดการค่าเงินบาท/เสถียรภาพค่าเงินบาท (6.42
คะแนน) รองลงมาเป็นด้านการบริหารจัดการหนี้สาธารณะ (6.16 คะแนน) ขณะที่ได้คะแนน
ต่ำกว่าครึ่ง ในด้านการเติบโตของเศรษฐกิจในภาพรวม(GDP) (4.96 คะแนน) และ
ด้านการสร้าง ความเป็นธรรมในสังคมลดความเหลื่อมล้ำด้านเศรษฐกิจ (4.79 คะแนน)
 
                  สำหรับการประเมินผลงานนายกรัฐมนตรีโดยภาพรวม พบว่า พล.อ. ประยุทธ์
จันทร์โอชา ได้คะแนน 6.21 คะแนน (จากเต็ม 10)
ลดลงจากการสำรวจครั้งก่อนที่ได้ 6.42 คะแนน ขณะที่ผลงานของ
รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ได้คะแนน 6.51 คะแนน (สูงกว่า ม.ร.ว. ปรีดิยาธร เทวกุล
รองนายกฯ คนก่อนที่ได้ 5.34 คะแนนในการสำรวจครั้งก่อน)
 
                 ในส่วนของผลงานรัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจ พบว่า นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รมว.การท่องเที่ยว
และกีฬา เป็นรัฐมนตรีที่ได้คะแนนสูงสุด 6.52 คะแนน
รองลงมาคือ นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง ได้ 6.21 คะแนน
ขณะที่มีรัฐมนตรีที่ได้คะแนนน้อยกว่าครึ่งจำนวน 2 คนได้แก่ พล.อ. ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.เกษตรและสหกรณ์ (4.57
คะแนน)
และ พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล รมว.แรงงาน (4.95 คะแนน)
 
                  สำหรับ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย นายวิรไท สันติประภพ นักเศรษฐศาสตร์ประเมินให้คะแนน
6.70 คะแนน
(น้อยกว่านายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่า ธปท. คนก่อนที่ได้ 7.05 คะแนน)
 
 
                 (โปรดพิจารณารายละเอียดของผลสำรวจดังต่อไปนี้)
 
             1. ประเมินผลงานด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดปัจจุบันและที่ผ่านมา

รัฐบาล
นายกรัฐมนตรี
อภิสิทธิ์
ยิ่งลักษณ์
ยิ่งลักษณ์
พล.อ. ประยุทธ์
ช่วงเวลาที่สำรวจ
พ.ค.54
เม.ย.55
มิ.ย.56
ก.พ.58
ส.ค.58
มี.ค.59
ผลงานด้านเศรษฐกิจ
(เต็ม 10)
5.12
3.83
4.08
5.62
5.32
5.60
ผลงานของนายกรัฐมนตรี
(เต็ม 10)
-
-
3.66
6.62
6.42
6.21
 
 
             2.ประเมินผลงานการบริหารเศรษฐกิจภาพรวมของรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา (1 ปี 6 เดือน)

 
คะแนน
ก.พ. 58
(เต็ม 10)
คะแนน
ส.ค. 58
(เต็ม 10)
คะแนน
ส.ค. 58
(เต็ม 10)
ผลงาน (ร้อยละ)
ไม่ตอบ/
ไม่ทราบ
ดี
เยี่ยม
ดี
พอใช้
แย่
แย่
มาก
1.การเติบโตของเศรษฐกิจ
   ในภาพรวม(GDP)
5.19
4.57
4.96
1.7
8.3
76.7
10.0
1.7
1.6
2.การบริหารจัดการค่าเงินบาท
     /เสถียรภาพค่าเงินบาท
6.51
5.98
6.42
5.0
46.7
43.3
1.7
0.0
3.3
3.การแก้ปัญหา/ดูแลเสถียรภาพ
   ของราคาสินค้า
5.23
4.91
5.17
1.7
23.3
55.0
16.7
1.7
1.6
4.การบริหารจัดการราคาพลังงาน
6.04
5.91
6.06
5.0
40.0
46.7
5.0
1.7
1.6
5.การบริหารจัดการหนี้สาธารณะ
5.63
5.88
6.16
6.7
36.7
45.0
3.3
1.7
6.6
6.การสร้างความเป็นธรรมในสังคม
   ลดความเหลื่อมล้ำด้านเศรษฐกิจ
5.25
5.13
4.79
3.3
16.7
55.0
18.3
6.7
0.0
7.การสร้างสรรค์โครงการ
   เศรษฐกิจต่างๆ
5.48
4.82
5.65
6.7
23.3
56.7
8.3
1.7
3.3
รวม
5.62
5.32
5.60
4.3
27.9
54.1
9.0
2.2
2.6
 
 
             3.ประเมินผลงานรัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจที่สำคัญของรัฐบาลนายกฯ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา
                (1 ปี 6 เดือน)

 
คะแนน
มี.ค.59
(เต็ม 10)
ผลงาน (ร้อยละ)
ไม่ตอบ/
ไม่ทราบ
ดี
เยี่ยม
ดี
พอใช้
แย่
แย่
มาก
นายกรัฐมนตรี/รองนายกรัฐมนตรี
1. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
    นายกรัฐมนตรี
6.21
6.7
43.3
40.0
3.3
3.3
3.4
2. นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์
   รองนายกฯ ด้านเศรษฐกิจ
6.51
6.7
51.7
33.3
3.3
1.7
3.3
รัฐมนตรี
3. นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร
    รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา
6.52
11.7
41.7
35.0
1.7
3.3
6.6
4. นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์
    รมว.คลัง
6.21
8.3
35.0
45.0
3.3
1.7
6.7
5. นางอรรชกา สีบุญเรือง
    รมว.อุตสาหกรรม
5.50
5.0
20.0
48.3
6.7
3.3
16.7
6. พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์
      รมว.พลังงาน
5.50
1.7
25.0
46.7
8.3
1.7
16.6
7. นางอภิรดี ตันตราภรณ์
      รมว.พาณิชย์
5.45
3.3
23.3
53.3
10.0
1.7
8.4
8. นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ
    รมว.คมนาคม
5.44
6.7
25.0
46.7
11.7
5.0
4.9
9. นายอุตตม สาวนายน
    รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศ
    และการสื่อสาร
5.39
1.7
21.7
51.7
8.3
1.7
14.9
10. พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล
    รมว.แรงงาน
4.95
1.7
10.0
55.0
11.7
1.7
19.9
11. พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ
    รมว.เกษตรและสหกรณ์
4.57
1.7
10.0
51.7
18.3
5.0
13.3
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
12. ดร.วิรไท สันติประภพ
      ผู้ว่าการ ธปท.
6.70
10.0
43.3
33.3
0.0
1.7
11.7
 
 

** หมายเหตุ:  รายงานผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ฉบับนี้   เป็นการสำรวจความเห็นส่วนตัวของ
                     นักเศรษฐศาสตร์ซึ่งมิได้สื่อถึงแนวนโยบายขององค์กรที่นักเศรษฐศาสตร์สังกัดอยู่แต่อย่างใด

 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์:
                  1. เพื่อสะท้อนความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ที่มีต่อผลงานด้านเศรษฐกิจของรัฐบาล
                  2. เพื่อเป็นข้อมูลสะท้อนให้รัฐบาลได้รับทราบและนำไปใช้ประกอบการบริหารงานด้านเศรษฐกิจของรัฐบาล
 
กลุ่มตัวอย่าง:
                  เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาเศรษฐศาสตร์
(กรณีสำเร็จการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เฉพาะปริญญาตรี หรือปริญญาโท หรือปริญญาเอก อย่างใดอย่างหนึ่ง
จะต้องมีประสบการณ์ในการทำงานด้านวิเคราะห์/วิจัย/หรืองานที่เกี่ยวข้องที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถด้าน
เศรษฐศาสตร์อย่างน้อย 5 ปีจนถึงปัจจุบัน)
ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์ วิจัยเศรษฐกิจระดับชั้นนำ
ของประเทศ จำนวน 29 แห่ง ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและ
สังคมแห่งชาติ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(TDRI) ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
สำนักงานคณะกรรมการกำกับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และ
ตลาดหลักทรัพย์ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารกรุงไทย ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย
ธนาคารธนชาต ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารทหารไทย บริษัทหลักทรัพย์ภัทร บริษัท
หลักทรัพย์ โนมูระ พัฒนสิน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกรุงไทย บริษัททิพยประกันชีวิต คณะเศรษฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร สำนักวิชาเศรษฐศาสตร์
และนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะพัฒนาการ
เศรษฐกิจสถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ คณะเศรษฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย และคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
 
วิธีการรวบรวมข้อมูล:
                  การสำรวจนี้เป็นการวิจัยโดยการเลือกตัวอย่างประชากรโดยไม่อาศัยหลักความน่าจะเป็น (Non-probability
sampling) แต่ละหน่วยตัวอย่างที่จะได้รับการเลือก จึงเป็นการเลือกตัวอย่างประชากรแบบเจาะจง (Purposive sampling)
และดำเนินการรวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามออนไลน์ไปยังนักเศรษฐศาสตร์ในหน่วยงานที่กำหนดภายใน
ระยะเวลาที่กำหนด
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 3 – 10 มีนาคม 2559
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 12 มีนาคม 2559
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
ประเภทของหน่วยงานที่กลุ่มตัวอย่างทำงานอยู่:    
             หน่วยงานภาครัฐ
30
50.0
             หน่วยงานภาคเอกชน
20
33.3
             สถาบันการศึกษา
10
16.7
รวม
60
100.0
เพศ:    
             ชาย
38
63.3
             หญิง
22
36.7
รวม
60
100.0
อายุ:
 
 
             ต่ำกว่า 25 ปี
1
1.7
             26 – 35 ปี
11
18.3
             36 – 45 ปี
29
48.3
             46 ปีขึ้นไป
19
31.7
รวม
60
100.0
การศึกษา:
 
 
             ปริญญาตรี
2
3.3
             ปริญญาโท
44
73.3
             ปริญญาเอก
14
23.4
รวม
60
100.0
ประสบการณ์ทำงาน:
 
 
             1 - 5 ปี
5
8.3
             6 - 10 ปี
16
26.7
             11 - 15 ปี
15
25.0
             16 - 20 ปี
8
13.3
             ตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป
16
26.7
รวม
60
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776